ศูนย์ร้องเรียน

14040

14033

13876_1

 

หลักประกันสุขภาพสิทธิของคนไทย

คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยมี สำ นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำ หน้าที่จัดบริการสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิ สวัสดิการรักษาพยาบาลจากกฎหมายประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ภายใต้การ ควบคุมดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สิทธิหลัก ประกันสุขภาพ” หรือที่เคยรู้จักกันในนาม “สิทธิ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง” เพื่อการเข้าถึงบริการ สาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ การสร้าง เสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และ การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำ เป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต

ตั้งแต่ 1 กันยายน 2555 ร่วมจ่าย ร่วมพัฒนา เพื่อคนไทยสุขภาพดี

ใครบ้าง ? ที่ร่วมจ่ายค่าบริการ ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพรับบริการรักษา พยาบาลจนสิ้นสุดและได้รับยา โดยยกเว้นกลุ่ม บุคคล 21 กลุ่ม และการบริการที่ไม่ต้องจ่ายค่า บริการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข สำ หรับบุคคลที่มีความประสงค์ไม่จ่ายค่า บริการ 30 บาท สามารถแจ้งความจำ นงได้ที่ หน่วยบริการ

ร่วมจ่าย อย่างไร ? ที่ไหน ?

  • บุคคลผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ เมื่อรับ บริการรักษาพยาบาลและได้รับยา ต้องร่วมจ่าย ค่าบริการครั้งละ 30 บาท • จ่ายค่าบริการให้แก่โรงพยาบาลในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ระดับ โรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป (สถานพยาบาลที่มี เตียงนอนตั้งแต่ 10 เตียงขึ้นไป) บริการที่ไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ บริการสร้างเสริมสุขภาพ บริการป้องกัน โรค บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ เจ็บป่วย ฉุกเฉินเร่งด่วน หรือการเข้ารับบริการสาธารณสุข ในหน่วยบริการที่มีระดับต่ำกว่าโรงพยาบาล ชุมชน ได้แก่ สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกที่ร่วมโครงการฯ เป็นต้น

บุคคลที่ไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ ได้แก่

  • ผู้มีรายได้น้อย ตามระเบียบสำ นักนายกฯ
  • ผู้นำ ชุมชน ได้แก่ กำ นัน สารวัตรกำ นัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำ บล และบุคคล ในครอบครัว
  • อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) อาสา สมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลใน ครอบครัว
  • ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี บริบูรณ์
  • เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี บริบูรณ์
  • คนพิการตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ
  • พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต และ ผู้นำ ศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง รวมถึงครอบครัว ของผู้นำอิสลาม
  • ทหารผ่านศึกทุกระดับชั้นที่มีบัตรทหารผ่านศึกและ บุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญ ชั้นสมรภูมิและทายาท
  • นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์
  • ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามใน ทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว
  • อาสาสมัครมาเลเรีย ตามโครงการของกระทรวง สาธารณสุข และบุคคลในครอบครัว
  • ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัย และบุคคลในครอบครัว
  • ผู้บริหารโรงเรียน และครูของโรงเรียนเอกชนที่สอน ศาสนาอิสลามควบคู่กับวิชาสามัญหรือวิชาชีพและ บุคคลในครอบครัว ในเขตจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต
  • ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน
  • ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน
  • สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ซึ่งมีหนังสือ รับรองจากสภากาชาดไทย ว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป
  • หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม
  • อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
  • อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก
  • บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ หมายเหตุ บุคคลในครอบครัว หมายถึง บิดามารดา คู่สมรส และบุตรโดยชอบตามกฎหมาย

ใครบ้าง? ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ

ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ คือ คนไทยทุกคน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสิทธิ สวัสดิการรักษาพยาบาลตามกฎหมายประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ สวัสดิการรักษาพยาบาล อย่างอื่นที่รัฐจัดให้

ตรวจสอบสิทธิการรักษา

  • ติดต่อด้วยตนเองได้ที่ สถานีอนามัย/โรงพยาบาล ของรัฐใกล้บ้านหรือสำ นักงานสาธารณสุข จังหวัด สำ หรับผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ติดต่อสำ นักงานเขตของกรุงเทพมหานคร
  • ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำ ตัวประชาชน 13 หลัก (ค่าบริการ 3 บาท/ครั้ง)
  • ระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ www.nhso.go.th
  • ระบบสมาร์ทโฟน ผ่าน App สิทธิ 30 บาท ทั้งระบบ Android และ IOS สิทธิรักษาพยาบาล โดยข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาลจะปรับปรุงให้เป็น ปัจจุบันทุกวันที่ 15 และวันที่ 28 ของทุกเดือน

ลงทะเบียนก่อนใช้สิทธิ

เอกสารลงทะเบียน

1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)

2) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ หนังสือรับรองการ พักอาศัย

สถานที่ลงทะเบียน ในวันเวลาราชการ

  • ต่างจังหวัด : สถานีอนามัย / โรงพยาบาล ของรัฐใกล้บ้าน หรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัด
  • กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเขตของ กทม. ก่อนใช้สิทธิ ลงทะเบียน

สปสช.บริการลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพโดยระบบอัตโนมัติ ให้กับผู้หมดสิทธิประกันสังคมและผู้หมดสิทธิสวัสดิการการรักษา พยาบาลของข้าราชการ โดยประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิการ รักษาพยาบาลได้ทางระบบออนไลน์ www.nhso.go.th (ข้อมูล ปรับปรุงทุกวันที่ 15 และวันที่ 28 ของเดือน)

ลงทะเบียนคนพิการ (ท.74)

คนพิการผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่ยังไม่ได้ ระบุสิทธิย่อย ท.74 ในระบบหลักประกันสุขภาพ ต้องนำ ใบรับรองความพิการจากแพทย์ หรือ แสดงบัตรคนพิการตามพ.ร.บ ส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550 ลงทะเบียน ณ สถานที่รับลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ ฟื้นฟูสมรรถภาพได้

หน่วยบริการคืออะไร

หน่วยบริการ หมายถึง โรงพยาบาล สถานี อนามัย สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ศูนย์บริการ สาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชนที่ขึ้นทะเบียน เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำ หมายถึง หน่วยบริการที่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ เลือกลงทะเบียนเพื่อรับบริการสาธารณสุขเป็นประจำ โดยทั่วไปจะเป็นหน่วยบริการที่มีสถานที่ตั้งใกล้เคียง กับที่พักอาศัยของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ

การขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ

นำ บัตรประจำ ตัวประชาชน ติดต่อด้วย ตนเองได้ที่สถานีอนามัย/โรงพยาบาลของรัฐ ใกล้บ้าน หรือสำ นักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สำ นักงานเขตของ กทม. ในวันเวลาราชการ โดยมีสิทธิเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ ได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ (ตุลาคมถึงกันยายน ของปีถัดไป)

การใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุข

กรณีทั่วไป

  1. ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการ ประจำของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ
  2. แจ้งความจำนงใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ก่อนรับบริการ
  3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำ ตัวที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ สำหรับเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า

15 ปี แสดงสำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)

คนพิการที่ได้รับการลงทะเบียน ท.74 ใน ระบบหลักประกันสุขภาพใช้สิทธิเข้า รับบริการสาธารณสุข กรณีที่จำ เป็นจาก หน่วยบริการของรัฐที่ขึ้นทะเบียนในระบบ หลักประกันสุขภาพได้ทุกแห่ง

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต

ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต หมายถึง ผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งมีอาการบ่งชี้ว่า จะเป็น อาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง การหายใจ ต้องได้รับการรักษา และดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสีย ชีวิตได้รวดเร็ว ยกตัวอย่าง เช่น หัวใจหยุดเต้น / หอบรุนแรง / มีอาการเขียวคล้ำ / หมดสติไม่รู้สึกตัว / สิ่งแปลกปลอมอุดกั้น หลอดลม / มีอาการวิกฤติจากอุบัติเหตุ / มีเลือด ออกมากห้ามไม่หยุด / ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง / แขน ขา อ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก / ชัก / มีอาการวิกฤติจากไข้สูง เป็นต้น

อาการฉุกเฉินนอกเหนือจากนี้ หากไม่แน่ใจ โปรดโทรสายด่วน 1669 เพื่อขอคำปรึกษาและ บริการช่วยเหลือต่อไป คนพิการที่ได้รับการลงทะเบียน ท.74 ใน ระบบหลักประกันสุขภาพใช้สิทธิเข้า รับบริการสาธารณสุข กรณีที่จำ เป็นจาก หน่วยบริการของรัฐที่ขึ้นทะเบียนในระบบ หลักประกันสุขภาพได้ทุกแห่ง

ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต

จำเป็นต้องได้ รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อการรอดชีวิต เมื่อ ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตสามารถ เข้ารักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ได้ โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงตน ในการเข้ารับบริการ จะได้รับการรักษาโดยไม่ ถูกปฏิเสธและไม่ต้องสำรองจ่าย ผู้ป่วยเจ็บป่วย ฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต จะได้รับการรักษาจนอาการ พ้นวิกฤติ จากนั้น โรงพยาบาลที่ให้การรักษาจะ ส่งตัวผู้ป่วยกลับไปยังหน่วยบริการประจำหรือ โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพที่พร้อม ให้การรักษาต่อไป

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น

  • บริการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การให้คำ แนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส รวมทั้งบริการคุม กำเนิด
  • การดูแลสุขภาพหญิงมีครรภ์ ทารกแรกเกิด และพัฒนาการของเด็ก
  • บริการวัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคตาม แผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
  • การตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นโรค เช่น ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจมะเร็ง ปากมดลูก/มะเร็งเต้านม
  • การให้ยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกันการติด เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก

ชุดสิทธิประโยชน์บัตรทอง

การคลอดบุตร   ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

บริการทันตกรรม   ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การ รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุมร่อง ฟัน และการทำฟันปลอมฐานพลาสติก

 

การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา  ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด จนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง/โรคเฉพาะ ทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง เอดส์ ผ่าตัดตา ต้อกระจก ผ่าตัดหัวใจ ฯลฯ รวมถึง การฟื้นฟู สมรรถภาพตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

ค่ายาและเวชภัณฑ์ ตามกรอบบัญชียาหลัก แห่งชาติ และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตามประกาศของ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วย

บริการ การจัดการส่งต่อ เพื่อการรักษาระหว่างหน่วย บริการ

บริการแพทย์แผนไทย

ได้แก่ ยาสมุนไพรหรือยา แผนไทย การนวดเพื่อการรักษา และทับหม้อเกลือฟื้นฟู สุขภาพแม่หลังคลอด การอบหรือประคบสมุนไพร เพื่อการรักษา ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550 และได้รับการลงทะเบียน ท. 74 ใน ระบบหลักประกันสุขภาพ สามารถขอรับบริการ ฟื้นฟูสมรรถภาพได้ เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด กิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตาม ประเภทความพิการได้ตามเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด

บริการทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้ายต้องไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่หน่วย บริการตามสิทธิ หน่วยบริการจะลงทะเบียน และให้ คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดพิจารณาการให้บริการ ทดแทนไตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย โดย เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมโรคไตแห่ง ประเทศไทย ได้แก่ 1.) การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 2.) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3.) การผ่าตัดปลูกถ่ายไต สำหรับการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง สปสช.ได้จัดบริการส่งน้ำยาล้างไตให้ผู้ป่วยถึงบ้าน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้เข้าถึงบริการทดแทนไต ได้ง่ายขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และ ได้รับการทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลถึง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย * คุ้มครองค่าใช้จ่ายตามการวินิจฉัยทางการแพทย์และประกาศ ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สามารถ รับบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติด เชื้อเอดส์ได้ที่หน่วยบริการตามสิทธิ หากพบว่าติด เชื้อเอดส์จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ และการรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในกรณีรับยาต้านไวรัสเอดส์กับโรงพยาบาลอื่นที่ ไม่ใช่หน่วยบริการตามสิทธิ ควรมีใบส่งตัวจากหน่วย บริการตามสิทธิ

 บริการรักษาพยาบาลโรคมะเร็ง

1.การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง ตามที่แพทย์สั่ง

2.การรักษาอาการทั่วไป และการรักษาเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด

3.การดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน (Palliative Care) 4.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (เฉพาะผู้ป่วย มะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด)

บริการที่ไม่อยู่ในความคุ้มครอง

  • การรักษาภาวะมีบุตรยาก / การผสมเทียม
  • การเปลี่ยนเพศ / การกระทำใดๆ เพื่อความ สวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • การตรวจวินิจฉัยและรักษาใดๆ ที่เกินความ จำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
  • การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถ ซึ่งอยู่ ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เฉพาะส่วนที่ บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็น ผู้จ่าย
  • การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยสารเสพติด ยกเว้น ผู้ติดยาเสพติดประเภทเฮโรอีนที่สมัครใจ เข้ารับการรักษาและไม่ต้องโทษคดียาเสพติด ให้ได้รับสารทดแทนยาเสพติด (เมทาโดน) จากหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนได้
  • โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวใน โรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้น กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง จากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplantation)

ยกเว้น – การปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย

– การปลูกถ่ายตับในเด็ก (อายุไม่เกิน 18 ปี) ที่เป็นโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด

– การปลูกถ่ายหัวใจ

การยื่นคำร้องกรณีได้รับความเสียหายจากบริการรักษาพยาบาล

ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (ม.๔๑)

ในกรณีผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้รับความ เสียหายจากบริการรักษาพยาบาล ผู้ที่ได้รับความ เสียหายหรือทายาท ฯลฯ สามารถยื่นคำร้องขอรับ เงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ภายใน 1 ปี (นับตั้งแต่วัน ที่ทราบความเสียหาย) โดยมิต้องรอพิสูจน์ถูกผิด

การเขียนคำร้องต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.ชื่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย

2.ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล

3.ชื่อของหน่วยบริการที่ให้การรักษาพยาบาล

4.วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และวันที่ทราบ ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น

5.สถานที่ที่สามารถติดต่อผู้รับบริการที่ได้รับ ความเสียหายได้โดยสะดวก

6.สถานภาพของผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย เช่น อาชีพ รายได้ เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ ผลกระทบอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหาย

 หลักฐานประกอบคำร้องของผู้ที่ได้รับความเสียหาย

ได้แก่ สำ เนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสูติบัตร สำ เนาทะเบียนบ้าน หนังสือมอบอำ นาจ (กรณีมี การมอบอำ นาจ) เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงราย ละเอียดข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ประกอบการ พิจารณา สถานที่ยื่นคำร้อง

  • สำ นักงานสาธารณสุขจังหวัด (ในจังหวัดที่ เกิดเหตุ) หรือ สำ นักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร (กรณีเหตุ เกิดในเขต กทม.)
  • ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
  • หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูก ร้องเรียน ตามมาตรา 50(5)
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ “สายด่วนสปสช.1330”

ที่อยู่สปสช.เขต

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 1 เชียงใหม่ เลขที่ 6 อาคารสำ นักงานไปรษณีย์เขต 5 ถ.มหิดล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 52000 โทรศัพท์ 053-285355 โทรสาร 053-285364

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2 พิษณุโลก เลขที่ 118 อาคารที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ชั้น 4 ถ.พุทธบูชา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 055-245111 โทรสาร 055-247111

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 3 นครสวรรค์ เลขที่ 1045/2 อาคารแว่นกรุงไทย ชั้น 4 ถ.นครสวรรค์-พิษณุโลก หมู่ 10 ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์ 056-371831 โทรสาร 056-371838

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี เลขที่ 65/3 ซอย 1 ถ.พิชัยรณรงค์สงคราม ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000 โทรศัพท์ 036-213205 โทรสาร 036-213263

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 5 ราชบุรี เลขที่ 2 อาคารไปรษณีย์ชั้น 3 ถ.สมุทรศักดารักษ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทรศัพท์ 032-332590 โทรสาร 032-332593

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 6 ระยอง เลขที่ 115 อาคารสตาร์พลาซ่า ชั้น 2 ซอยศูนย์การค้า สาย 4 ถ.สุขุมวิท ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง 21000 โทรศัพท์ 038-864313-19 โทรสาร 038-864320

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น เลขที่ 356/1 อาคารซีพี ชั้น 3 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ 043-365200-3 โทรสาร 043-365111

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี เลขที่ 2 อาคารสำ นักงานไปรษณีย์อุดรธานี ชั้น 3 ถ.วัฒนานุวงศ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ 042-325681 โทรสาร 042-325674

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา เลขที่ 154/1 อาคารราชสีมาเซ็นเตอร์ ชั้น 3 ถ.มนัส ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ 044-248870-4 โทรสาร 044-248875

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10 อุบลราชธานี เลขที่ 145 ที่ทำการไปรษณีย์ชั้น 3 ถ.ศรีณรงค์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ 045-240591, 045-240839, 045-240974, 045-241228, 045-241231 โทรสาร 045-255393

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เลขที่ 91/1 หมู่ 1 อาคารพีซี ทาวเวอร์ ชั้น 10 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทรศัพท์ 077-274811 โทรสาร 077-274818

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา เลขที่ 456/2 ถ.เพชรเกษม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ 074-233888 โทรสาร 074-235494

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร “อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” (ตึกที่จอดรถ) ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ 02-1421000 โทรสาร 02-1438772-3